โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์
135 หมู่ 1ถนนตรัง-ปะเหลียน  ตำบลสุโสะ   อำเภอปะเหลียน  จังหวัดตรัง 92120
ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน

ข้อมูลพื้นฐาน

 

 

โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ที่ ๑ ถนนตรัง-ปะเหลียน ตำบล สุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๒๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๗๕๒๘-๙๖๖๗-๘ โทรสาร ๐-๗๕๒๘-๘๒๑๒  E-mail : psschool14@gmail.com Website www.pps.ac.th/ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๓ เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เนื้อที่ ๒๐ ไร่ มีเขตพื้นที่บริการ ได้แก่ โรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

  • ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

              โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๓ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  ใช้อักษรย่อ ป.ศ. ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อปีการศึกษา ๒๕๑๔  ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  ลงวันที่ ๗  เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ในสมัยที่ นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์  เป็นอธิบดีกรมวิสามัญ และ นายสุกิจ  นิมมานเหมินทร์  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดตรังตกลงยินยอมให้ใช้ที่ดินในราชการกรมสามัญศึกษา จำนวน ๒๐ ไร่  ในระยะที่เริ่มก่อตั้งมีบุคคลที่ควรกล่าวถึง ดังนี้

               ๑.  นายจรัส    สิทธิพงศ์                เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

               ๒.  ว่าที่ร้อยตรีหทัย  หัทยาภิรมย์      เป็นศึกษาธิการจังหวัดตรัง

               ๓.  นายจรัส     ปิยกุล                   เป็นนายอำเภอปะเหลียน

               ๔.  นายอาจิณ  วงษ์มณฑา              ตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์

               ปีการศึกษา ๒๕๒๖ โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนในเขตอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูล การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเป็นไปด้วยดี เป็นที่ยอมรับของชุมชนส่งผลให้โรงเรียนทุ่งยาววิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน มีจำนวนนักเรียนลดลง เจ้าของผู้จัดการและกรรมการโรงเรียนทุ่งยาววิทยา รวมทั้ง ชาวบ้านตำบลทุ่งยาวและใกล้เคียง จึงอุทิศที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนทุ่งยาววิทยา จำนวน ๕๖ ไร่ ๑ งาน ๘๘ ตารางวาโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ จึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็น ๒ เขต คือเขต ๑ (เขตสุโสะ) และเขต ๒ (เขตทุ่งยาว) จนกระทั่งวันที่ ๑๑ ตุลาคม  ๒๕๓๖ เขตทุ่งยาวจึงได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้จัดตั้งเป็นโรงเรีย